หลักสูตรการจัดการคาร์บอนเบื้องต้นในภาคอุตสาหกรรมการบริการ
สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบเชิงลบต่อชุมชน สังคม ธุรกิจ และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมการบริการที่เผชิญกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคที่มองหาการบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้น การจัดการก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการบริการไม่เพียงเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน แต่ยังสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานได้ในระยะยาวเช่นกัน ซึ่งผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการก๊าซเรือนกระจกและความยั่งยืนได้ที่นี่
ข้อมูลคอร์สเรียน
หลักสูตรการจัดการคาร์บอนเบื้องต้นในภาคอุตสาหกรรมการบริการจึงมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคาร์บอน ผู้เรียนจะเรียนรู้แนวคิดการประเมิน คำนวณ และลดการปล่อยคาร์บอนในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถผนวกแนวปฏิบัติที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมลงในธุรกิจและจัดการต้นทุนทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คอร์สนี้เหมาะกับใคร?
หลักสูตรนี้มีเป้าประสงค์ที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการคาร์บอน ก๊าซเรือนกระจก และความยั่งยืนให้แก่บุคลากรทุกระดับในภาคอุตสาหกรรมการบริการและการโรงแรม อาทิ บุคลากรในฝ่ายบัญชี ฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร และฝ่ายการดำเนินงานที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่รับผิดชอบด้านการลดการปล่อยคาร์บอน
ขอบเขตของเนื้อหาหลักสูตร
- ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การดำเนินงานด้านความยั่งยืน และการจัดการคาร์บอน
- วิธีการระบุแหล่งกำเนิดการปล่อยคาร์บอนและรวบรวมข้อมูลสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์
- กลยุทธ์และแนวปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนและความยั่งยืน
- แนวทางการตรวจสอบ การรายงานการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยคาร์บอน การตั้งเป้าหมายที่วัดผลได้ และแนวทางการสื่อสารต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การจัดการการปล่อยคาร์บอนในการดำเนินงานทั่วไป
โครงสร้างหลักสูตร
บทเรียนที่ 1: ภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ นโยบายด้านภูมิอากาศระหว่างประเทศและของไทย
บทเรียนที่ 2: กลไกราคาคาร์บอน (Carbon pricing mechanism)
-
รู้จักปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบทั้งในระดับโลกและประเทศ
-
ประเด็นสำคัญของความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกฎระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ ร่าง พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
-
ผลกระทบของนโยบายต่ออุตสาหกรรมการบริการของไทย
-
ภาพรวมและกลไกการกำหนดราคาคาร์บอนที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ภาษีคาร์บอน และระบบ Emission Trading System (ETS)
-
การวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการกำหนดราคาคาร์บอนต่ออุตสาหกรรมการบริการระดับโลกและในไทย
-
การเตรียมตัวและปรับใช้กลไกราคาคาร์บอนในอุตสาหกรรมการบริการ
บทเรียนที่ 3: การประเมินการปล่อยคาร์บอนเบื้องต้นและกรอบแนวคิดในการรายงานก๊าซเรือนกระจก
-
แนวคิดหลักของกลไกของความเป็นการทางคาร์บอนและการชดเชยการปล่อยคาร์บอน
-
แนวปฏิบัติและวิธีประเมินการปล่อยคาร์บอน
-
ตัวอย่างมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในการการคำนวณคาร์บอนฟุตปริ่นท์ เช่น Greenhouse Gas Protocol
-
วิธีเลือกเลือกกระบวนการและมาตรฐานการประเมินคาร์บอนที่เหมาะสมกับธุรกิจ
บทเรียนที่ 4: การจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
-
ขั้นตอนการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
-
แหล่งข้อมูลและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกสำหรับอุตสาหกรรมการบริการในไทย
-
วิธีการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับธุรกิจ
บทเรียนที่ 5: การประเมินความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศสำหรับอุตสาหกรรมการบริการ
-
การระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศต่ออุตสาหกรรมการบริการไทย
-
แนววิเคราะห์และปฏิบัติสำหรับการประเมินความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ
-
ผลกระทบของความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศมีผลต่อการลงทุนและการดำเนินธุรกิจ
บทเรียนที่ 6: กลยุทธ์การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการบริการ
-
กลยุทธ์การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการบริการ
-
ตัวอย่างธุรกิจและการดำเนินงานที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรม
บทเรียนที่ 7: การดำเนินงานในอนาคตของการจัดการคาร์บอนในอุตสาหกรรมการบริการ
-
เทคโนโลยีและแนวโน้มการจัดการและลดการปล่อยก๊าเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการบริการ
-
กฎระเบียบ นโยบาย และแนวปฏิบัติด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจกที่น่าจับตามองในอนาคต
ผู้บรรยาย
ดร. บดินทร์ วงศ์วิทยาภิรมณ์ จบการศึกษาระดับปริญญาโทจากคณะวิศกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย Old Dominion ในสหรัฐอเมริกา และปริญญาเอกด้านวิศวกรรมอุตสาหการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีประสบการณ์ทำงานในอุตสหากรรมด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พลังงานหมุนเวียนและการผลิต รวมไปถึงมีประสบการณ์สอนเรื่องการบริหารความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาลและการรายงานความยั่งยื่นให้กับบริษัทชั้นนำ และตลาดหลักทรัพย์
คุณดิษยนันท์ พินสุวรรณ์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจจาก Imperial College London มีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาการลดการปลดปล่อยคาร์บอนและความยั่งยืน
คุณธนิดา ลอเสรีวานิช จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโทด้านนโยบายสาธารณะจาก Hitotsubashi University ประเทศญี่ปุ่น (ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น) มีประสบการณ์ทำงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในด้านการธนาคารเพื่อความยั่งยืน ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน โดยเฉพาะการเงินเพื่อความยั่งยืนและการจัดการและรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
คุณสมบัติในการรับสมัคร
หลักสูตรของเราถูกออกแบบมาสำหรับมืออาชีพที่มีความทะเยอทะยาน ไม่มีข้อกำหนดในการสมัครเข้าเรียนในหลักสูตรนี้ คุณสามารถมาจากภาคส่วนใดก็ได้
ขั้นตอนการรับสมัคร
กรุณาเลือกวันที่เริ่มหลักสูตรที่คุณต้องการ และกรอกข้อมูลส่วนตัวของคุณ คุณจะได้รับอีเมลพร้อมลิงค์สำหรับการชำระเงิน คุณจะถือว่าได้รับการยอมรับเข้าเรียนในหลักสูตรเมื่อเราได้รับการชำระเงินของคุณ กรุณาแชร์หลักฐานการโอนเงินแก่เจ้าหน้าที่
DEADLINE
กรุณาชำระเงินอย่างน้อย 5 วันก่อนวันเริ่มเรียน
AIHM & Deloitte Risk Academy: Elevating Professional Excellence in Bangkok
การปรับใช้ AI ในวงการธุรกิจบริการและการโรงแรม
ChatGPT อาจเป็นที่สนใจของทุกคน แต่โลกของ AI ยังมีอะไรอีกมากมายที่รอคอย เป็นผู้นำที่ริเริ่มใช้งานตั้งแต่เนิ่นๆ และเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและวิธีการทำธุรกิจของคุณ
การเงินสำหรับผู้บริหารที่ไม่ใช่สายการเงินการบัญชีในอุตสาหกรรมการบริการและโรงแรม
หากคุณเป็นผู้บริหารที่ไม่ได้มีพื้นฐานหรือจบการศึกษาด้านการเงินและการบัญชีโดยตรง สิ่งใดบ้างที่เราควรรู้เพื่อที่จะจัดการงบการเงินสำหรับธุรกิจของุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ?